วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ที่มาของคำซ้อนและสำนวน ชั่วดี-ถี่ห่าง และ ถี่ลอดตาช้าง ห่างลอดตาเล็น

          จาก สำนวนที่ว่า "ถี่ลอดตาช้าง ห่างลอดตาเล็น" มีที่มาจากอะไร และมีความหมายถึงอะไร ตามมาหาคำตอบกันเลยค่ะ


          ก่อนอื่น เรามาพิจารณาคำว่า “ถี่-ห่าง” กันก่อนนะคะ

          คำว่า "ถี่" เป็นคำวิเศษณ์
                    มีความหมายว่า มีระยะหรือช่องว่างชิด ๆ กัน เช่น ตะแกรงตาถี่ หวีซี่ถี่, มีระยะเวลากระชั้นชิดกัน, ไม่ห่าง, เช่น รถมาถี่ มีลูกถี่ ซอยเท้าถี่ ๆ (ราชบัณฑิตยสถาน, 2554: 531)

          และคำว่า "ห่าง" เป็นคำวิเศษณ์ เช่นกัน
                    มีความหมาย 3 ความหมาย คือ

                    (๑) ว. ไกล เช่น ห่างหูห่างตา บ้านอยู่ห่างถนนมาก, บางทีใช้เข้าคู่กันเป็น ห่างไกล

                    (๒) ว. จากกันไปไม่ได้ติดต่อกัน เช่น เราห่างกันไปนาน

                    (๓) ว. ไม่ถี่ (ใช้แก่เวลา) เช่น มีลูกห่าง. (ราชบัณฑิตยสถาน, 2554: 1332)

                  หรือให้ความหมายตามภาษาปากคือ มีความไกลกัน ไม่อยู่ใกล้ ๆ กัน นั่นเอง

                   ถ้านำสองคำนี้มารวมกัน เราจะได้คำใหม่ในภาษาไทยว่า “ถี่ห่าง”

                  ส่วนมากอยู่รวมกันกับคำว่า “ชั่วดี”
ที่ ชั่ว ในที่นี้เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เลว, ทราม, ร้าย, ไม่ดีเพราะจงใจฝ่าฝืนศีลธรรมหรือจารีตประเพณีเป็นต้น เช่น คนชั่ว.

                  ซ้อนกับคำว่า ดี ในฐานะเป็นคำวิเศษณ์เช่นเดียวกัน หมายถึง มีลักษณะที่เป็นไปในทางที่ต้องการ น่าปรารถนา น่าพอใจ สวย, งาม, เช่น หน้าตาดี, เรียบร้อย, เพราะ, จัด, เก่ง, ถูกต้อง, อยู่ในสภาพปกติ หรือเป็น คำกริยา ที่กระทำในทางที่ต้องการ น่าปรารถนา น่าพอใจ


ได้เป็นที่มาของคำซ้อนที่ว่า "ชั่วดี-ถี่ห่าง"


**************(คำซ้อน คือการนำคำที่มีความหมายตรงกันข้ามมาซ้อนกัน) **************

                  เมื่อมีที่มาของคำว่า ถี่ห่าง แล้ว จึงนำไปสู่สำนวนที่ว่า ถี่ลอดตาช้าง ห่างลอดตาเล็น

          เนื่องจาก "ช้าง"  เป็นสัตว์ที่มีร่างกายขนาดใหญ่ แต่มีดวงตาที่เล็กมาก

          เล็น  หมายถึง แมลงหรือสัตว์ขนาดเล็กมาก  เมื่อกัดจะทําให้เกิดความระคายเคืองต่อร่างกายซึ่งอาจหมายถึงพวกไร เหา เห็บ หมัด  หรือมด ก็ได้  แต่เมื่อเทียบกับลำตัวของมันกับสัตว์ชนิดอื่น ๆ แล้ว มันก็มีดวงตาที่ใหญ่มาก



          ซึ่งสำนวนนี้ เดิมใช้ว่า "ถี่ลอดตัวช้าง ห่างลอดตัวเล็น"   ต่อมาได้กลายเสียงเป็น "ถี่ลอดตาช้าง ห่างลอดตาเล็น" และได้มีการใช้สำนวนนี้ต่อเนื่องกันมาจนถึงปัจจุบัน

          ข้อความในสำนวนนี้พบว่า มีสหบท (คำคู่) ที่ขัดแย้งกัน และไม่เป็นไปตามเหตุผล

          นี่จึงเป็นเหตุผลของสำนวนที่ว่า

          ถี่  แต่ช้างกลับลอดได้ทั้งตัวนั้น หมายถึง 'ไม่ถี่ถ้วนจริง'

          คำว่า  “ถี่ลอดตัวช้าง” กับ “ห่างลอดตัวเล็น” หากพิจารณาตามเหตุผลแล้ว ต้องกล่าวว่า

“ห่างลอดตัวช้าง  ถี่ลอดตัวเล็น” จึงจะถูกต้อง 

          ดังนั้น "ถี่ลอดตาช้าง ห่างลอดตาเล็น" จึงหมายถึง  “ดูเหมือนรอบคอบถี่ถ้วนแต่ไม่รอบคอบถี่ถ้วนจริง, ประหยัดในสิ่งที่ไม่ควรประหยัด ไม่ประหยัดในสิ่งที่ควรประหยัด" นั่นเอง


*****%^&*((*&^%$#$%^&*()(*&^%$#$%^&*()_)(*&^%$%^&*(*&^%$#%$#*****

วันพุธที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

คำศัพท์งานพระราชพิธีพระบรมศพ สัตตมวาร ปัณรสมวาร สตมวาร

    เนื่องในงานพระราชพิธีพระบรมศพ ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้มีคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับพระราชพิธีเป็นจำนวนมาก ซึ่งคำศัพท์หลายคำเหล่านี้อาจจำได้ยาก จึงมีวิธีจำง่ายๆ โดยอาศัยความเข้าใจในการถอดรากศัพท์ของคำศัพท์นั้นๆ ได้แก่

คำว่า

                   สัตตมวาร                อ่านว่า            สัด-ตะ-มะ-วาน

    โดยคำว่า   "สัตตะ" เป็นการนับจำนวนหรือการจัดลำดับแบบไทยโบราณ (ภาษาบาลี-สันสกฤต) มีความหมายว่า "ลำดับที่ 7"
    ส่วนคำว่า   "วาร"    แปลตามราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายว่า "วันหนึ่งๆ ในสัปดาห์"

ดังนั้นคำว่า "สัตตมวาร" จึงมีความหมายว่า วันที่ครบ 7 หรือการบำเพ็ญพระราชกุศลครบ 7 วัน ในการเสด็จสวรรคต

คำว่า

                 ปัณรสมวาร                อ่านว่า            ปัน-นะ-ระ-สะ-มะ-วาน

    โดยคำว่า   "บัณณาส (บันนาด), ปัญญาสะ, ปัณณาส" เป็น การนับจำนวนหรือการจัดลำดับแบบไทยโบราณ (ภาษาบาลี-สันสกฤต) มีความหมายว่า "ลำดับที่ 50"

ดังนั้นคำว่า "ปัณรสมวาร" จึงมีความหมายว่า วันที่ครบ 50 หรือการบำเพ็ญพระราชกุศลครบ 50 วัน ในการเสด็จสวรรคต

คำว่า

                 สตมวาร                อ่านว่า            สะ-ตะ-มะ-วาน

    โดยคำว่า   "ศต, สดก, สตะ, สตกะ (สะ-ตะ-กะ)" เป็นการนับจำนวนหรือการจัดลำดับแบบไทยโบราณ (ภาษาบาลี-สันสกฤต) มีความหมายว่า "ลำดับที่ 100"

ดังนั้นคำว่า "สตมวาร" จึงมีความหมายว่า วันที่ครบ 100 หรือการบำเพ็ญพระราชกุศลครบ 100 วัน ในการเสด็จสวรรคต


  ดังนั้น สัตตะ แปลว่า 7, ปัณณาส แปลว่า 50 และ สตะ แปลว่า 100 เพียงแค่นี้ก็สามารถเข้าใจความหมายของคำศัพท์ที่ "ยาก" ได้ "ไม่ยาก"

วันอังคารที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

แกะสะเก็ด ภาษาไทย

ฉะนั้น ถ้าเจ็บปวดมาก ก็อย่าไปแกะสะเก็ดมันเลยก็แล้วกันนะคะ

วันจันทร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2556

สำนวน

สำนวนไทย    
-ความหมายของสำนวน
       สำนวน คือ คำพูดเป็นขั้นเชิง ไม่ตรงไม่ตรงมา แต่ใช้มีความหมายในคำพูดนั้นๆ
       สำนวน หมายถึง สำนวน หรือถ้อยคำที่เรียบเรียงขึ้นเป็น โวหาร บางทีก็ใช้ว่า สำนวนโวหาร คำพูด                                       ของมนุษย์เราไม่ว่าจะชาติใดหรือภาษาใด
                             -แยกออกได้กว้างๆ เป็น ๒ อย่าง
                                   1.พูดตรงไปตรงมาตามภาษาธรรมดา พอพูดออกมาก็เข้าใจกันได้ทันที                                                    2.พูดเป็นชั้นเชิงไม่ตรงไปตรงมา แต่ให้มีความหมายในคำพูดนั้นๆ                                                               ผู้ฟังอาจเข้าใจความหมายทันที หรืออาจต้องคิดจึงจะเข้าใจ หรือบางทีคิดแล้ว                                         เข้าใจอย่างอื่นได้ หรือไม่เข้าใจเลยก็ได้ คำพูดชั้นเชิงนี้ เรียกกันว่า สำนวน
                                      ชาวบ้านจะเรียกว่า พูดสำบัดสำนวน
        สำนวน คือ “โวหาร ถ้อยคำที่เป็นข้อความพิเศษ คือ มีขั้นเชิงของความหมายให้ขบคิด”
        สำนวน หมายถึง ถ้อยคำที่มิได้มีความหมายตรงไปตรงมาตามตัวอักษร หรือแปลตามรากศัพท์ แต่                                 เป็นถ้อยคำที่มีความหมาย เป็นอย่างอื่น คือ เป็นชั้นเชิงชวนให้คิด ซึ่งอาจเป็นไปใน                                 หลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ ค่านิยม และ                                 อื่นๆ ซึ่งล้วนแต่แสดงให้เห็นถึงความเป็นไทยอย่างเด่นชัด
        สำนวน หมายถึง ถ้อยคำในภาษาไทยที่ใช้ในการพูดจาสื่อสารกัน โดยมีความหมายเป็นนัย ไม่แปล                      ความหมายของคำตรงตัว มักจะแปลความหมายในเชิงอุปมาเปรียบเทียบ
        สำนวน คือ หมู่คำที่ไพเราะคมคาย เป็นคำพูดสั้น ๆ แต่มีความหมายกว้างขวางลึกซึ้งชวนให้คิด เป็น                      ถ้อยคำที่เรียบเรียง,โวหาร,บางที่ใช้คำว่าสำนวนโวหาร, เป็นถ้อยคำที่ไม่ถูกไวยากรณ์แต่ใช้                      เป็นภาษาที่ถูกต้อง การแสดงถ้อยคำออกมาจะเป็นข้อความพิเศษเฉพาะของแต่ละภาษา                        แต่ทุกถ้อยคำก็ไพเราะ

สาเหตุที่เกิดสำนวน
        1.ต้องการคำเพื่อสื่อสารความรู้สึกให้เข้าใจ เมื่อเกิดความต้องการคำให้เพียงพอกับความรู้สึก จึงต้องคิดคำใหม่อาจอิงคำเดิม แต่เปลี่ยนความหมายไปบ้าง หรือคล้าย ความหมายเดิม
        2. หลีกเลี่ยงการใช้คำบางคำ ซึ่งถ้าใช้แล้วอาจหยาบคาย หรือก่อให้เกิดความไม่สบายใจ ตัวอย่าง คำว่า ตาย อาจมีหลายสำนวน เช่น ซี้ ม่อง เท่ง เสร็จ เสียชีวิต ถึงแก่กรรม ไปค้าถ่าน ไปนรก หรือ ถ่ายปัสสาวะ อาจใช้ เบา ไปยิงกระต่าย ไปเก็บดอกไม้
        3. เพื่อให้สุภาพ หรือเหมาะสมกับฐานะของบุคคล เช่น ตัดผม ทรงเครื่อง หรือทรงพระเครื่องใหญ่
        4. ต้องการให้คำพูดมีรสชาติ หรือ เกิดภาพ เช่น กุ้งแห้งเดินมาแล้ว (อาจหมายถึงคนผอมแห้ง)

ความสำคัญของการใช้สำนวน
        ปัจจุบันสังคมมีการเปลี่ยนแปลงไป การใช้สำนวนก็ลดน้อยลง จึงทำให้สำนวนบางสำนวนสูญหายไป ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่เราควรจะช่วยกันอนุรักษ์สำนวนไทยให้อยู่คู่กับสังคมไทยต่อไป
ประโยชน์ที่ได้รับจากสำนวนไทย สำนวนไทยทุกสำนวน จะมีความหมายอยู่ทุกสำนวนทั้งที่บอกความหมายโดยตรง และสำนวนที่มีความหมายแอบแฝงอยู่

สำนวนมีประโยชน์ดังนี้
        1. นำหลักคำสอนมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
        2. ทำให้ทราบความหมายของแต่ละสำนวน
        3. ทำให้เยาว์ชนประพฤติปฏิบัติตนดีขึ้น
        4. ช่วยกัดเกลานิสัยของเยาว์ชนให้อยู่ในกรอบและมีระเบียบมากขึ้น

ลักษณะของสำนวนไทย
ลักษณะของสำนวนไทยนั้น มีทั้งประเภทเสียงสัมผัสคล้องจองกัน และ แบบไม่มีเสียงสัมผัส
1 . ประเภทมีเสียงสัมผัส ∗ ๔ คำสัมผัส ∗ ๖- ๗ คำสัมผัส ∗ ๘- ๙ คำสัมผัส
2. ประเภทไม่มีเสียงสัมผัส ∗ ๒ คำเรียงกัน ∗ ๓ คำเรียงกัน ∗ ๔ คำเรียงกัน ∗ ๕ คำเรียงกัน ∗ ๖- ๗ คำเรียงกัน

ตัวอย่างสำนวนคล้องจองสั้น ๆ
∗ กรวดน้ำ คว่ำกะลา ∗ นอนหลับไม่รู้ นอนคู้ไม่เห็น ∗ กรวดน้ำ คว่ำขัน
∗ น้ำสั่งฟ้ า ปลาสั่งฝน,สั่งหนอง ∗ กระต่าย ขาเดียว ∗ บนข้าวผี ตีข้าวพระ
∗ กระต่าย หมายจันทร์ ∗ บ้านนอก คอกนา ∗ กวัดไกว ไสส่ง ∗ บุญทำ กรรมแต่ง
∗ ก่อกรรม ทำเข็ญ ∗ บุญพา วาสนาส่ง ∗ ก่อร่าง สร้างตัว ∗ บุญหนัก ศักด์ิใหญ่
∗ ของหาย ตะพายบาป ∗ เบี้ยบ้าย รายทาง ∗ ข้าเก่า เต่าเลี้ยง ∗ ปล้ำผีลุก ปลุกผีนั่ง
∗ ข้านอกเจ้า ข้าวนอกหม้อ ∗ เป็ดขัน ประชันไก่ ∗ ขุดด้วยปาก ถากด้วยตา ∗ ผีซ้ำ ด้ำพลอย
∗ ขุดดิน กินหญ้าไปวัน ๆ ∗ ผู้หญิง ริงเรือ ∗ คดในข้อ งอในกระดูก ∗ เผอเรอ กระเชอก้นรั่ว
∗ คลุกคลี ตีโมง ∗ พระศุกร์เข้า พระเสาร์แทรก ∗ ฆ่าไม่ตาย ขาดไม่ขาด ∗ พอก้าวขา ก็ลาโรง
∗ เงื้อง่า ราคาแพง ∗ มั่งมีในใจ แล่นใบบนบก ∗ จับดำ ถลำแดง ∗ มากขี้ควาย หลายขี้ช้าง
∗ เจ้าไม่มีศาล สมภารไม่มีวัด ∗ เรือล่มเมื่อจอด ตาบอดเมื่อแก่ ∗ ชักน้ำเข้าลึก ชักศึกเข้าบ้าน
∗ ลูกสมภาร หลานเจ้าวัด ∗ ชักใบ ให้เรือเสีย ∗ เสือจนท่า ข้าจนทาง ∗ ตกล่อง ปล่องชิ้น
∗ เสือทลายห้าง ช้างทลายโรง ∗ ต้นร้ายปลาดี ต้นวายปลายดก ∗ หัวหาย ตะพายขาด
∗ ตบหัวกลางศาลา ขอขมาที่บ้าน ∗ พูดคล่อง เหมือนล่องน้ำ ∗ ตาบอด สอดตาเห็น
∗ ชักตะพาน แหงนเถ่อ ∗ ตายฝัง ยังเลี้ยง ∗ ชักแม่น้ำ ทั้งห้า
∗ ตื่นแต่ดึก สึกแต่หนุ่ม ∗ ท้องยุ้ง พุงกระสอบ ∗ นอนต้น กินราก

มูลเหตุที่ทำให้เกิดสำนวนไทย
1. เกิดจากธรรมชาติ 2. เกิดจากการกระทำ 3. เกิดจากอุบัติเหตุ
4. เกิดจากแบบแผนประเพณี 5. เกิดจากความประพฤติ 6. เกิดจากการละเล่น

สำนวนไทยที่เกิดจากธรรมชาติ
1. กาฝาก ความหมาย กินอยู่กับผู้อื่นโดยไม่ได้ทำประโยชน์อะไรให้
2. กินนํ้าไม่เผื่อแล้ง ความหมาย มีอะไรเท่าไร่ใช้หมดในทันที
3. ไก่กินข้าวเปลือก ความหมาย กินสินบน สำนวนนี้พูดเต็มว่า ไก่ยังกินข้าวเปลือกอยู่ตราบใจ คนก็ยังกิน      สินบนอยู่ตราบสิ้น
4. ไก่ขัน ความหมาย เวลารุ่งสาง
ความเป็นมา ธรรมชาติไก่พอเริ่มสางก็ขัน เสียงไก่ขัน จึงเป็นสัญญาณว่าเริ่มสางแสงเงิน แสงทองกำลังจะขึ้น
5. ไก่โห่ ความหมาย เวลารุ่งสาง
ความเป็นมา ธรรมชาติไก่พอเริ่มสางก็ขัน เสียงไก่ขัน จึงเป็นสัญญาณว่าเริ่มสางแสงเงิน แสงทองกำลังจะขึ้น
6. ขาวเป็นสำสีเม็ดใน ความหมาย คนที่มีผิวสีดำ
7.ใจเป็นปลาซิว ความหมาย ใช้เปรียบเทียบกับคนที่ขี้ขลาด ขี้กลัว
8. ตีปลาหน้าไซ ความหมาย มีความหมายไปในทางว่า วางไซดักปลาไว้ปลากินมาอยู่หน้าไซ แล้วมาชิงช้อนเอาไปเสียก่อน เท่ากับว่าฉวยโอกาส เอาแต่ประโยชน์ของตนเป็นหลัก ทำอะไรเสียหายไม่คำนึงถึง เปรียบเหมือนอย่างจะจับปลา ก็ต้องลงทุนลงแรงทำไซ แต่ตนไม่ทำแล้วยังไปชิงช้อนปลาหน้าไซของคนอื่นที่เขาทำไซ
9. ตีปีก ความหมาย ดีใจ ความเป็ นมา มาจากไก่ที่ตีปี กเมื่อแสดงอาการกิริยาร่าเริงคนเมื่อแสดงกิริยาร่าเริงก็งอแขนสองข้างขยับเข้าออกกระทบกับลำตัว
10. ตืดเป็นตังเม ความหมาย ขี้เหนียว คือเอาแต่แม้ซึ่งมีลักษณะเหนียวมาเปรียบกับคนที่ขี้เหนียว ไม่ยอมเสียอะไรให้ใครได้ง่ายๆ
11. เต่าใหญ่ไข่กลบ ความหมาย ทำอะไรที่เป็นพิรุธแล้วพยายามกลบเคลื่อนไม่ให้คนอื่นรู้
12. เตี้ยอุ้มค่อม ความหมาย ทำงานหรือประกอบกิจการหรือทำอะไรที่ต้องมีภาระมากมายใหญ่โตเกินกำลังหรือความสามารถของตนเองที่จะปฏิบัติ หรือประคองให้ตลอดรอดฝั่งไม่ได้
13. แต่งร่มใบ ความหมาย ผิวเนื้อนวลงาม มักใช้กับหญิงสาวที่มีผิวพรรณงามผ่อง เช่น พูดว่าผิวยังกะแตงร่มใบ
14. โตฟักโตแฟง ความหมาย โตแต่กาย ส่วนสติปัญญาความคิดยังน้อย ใช้กับเด็กโตมีอายุมาแล้ว แต่ยังทำอะไรเหมือนกะเด็กเล่น
15. ถ่านไฟเก่า ความเป็ นมา ถ่านที่เคยติดไฟแล้วมอดอยู่ หรือถ่านดับ ถ่านอย่างนี้ ติดไฟลุกง่ายเร็วกว่าถ่านใหม่ที่ไม่เคยติดไฟเลย ได้เชื้อเข้านิดหน่อยก็ติดลุกทันที เราเปรียบกับหญิงที่เคยเป็นภรรยา หรือเคยได้เสียกับชายมาแล้ว แล้วมาพรากจากกันไป พอมีโอกาสมาพบกันใหม่ก็คืนดีกัน
16. ถึงพริกถึงขิง ความหมาย รุนแรงเต็มที่
17. นํ้าขึ้นปลากินมด นํ้าลดมดกินปลา ความหมาย ยามชะตาขึ้นทำอะไรไม่ดีกับใครไว้ ยามชะตาตกเขาทำกับเราไม่ดีเหมือนกัน
18. นํ้าขึ้นให้รีบตัก ความหมาย กำลังชะตาขึ้นจะต้องการอะไรหรือทำอะไรที่เป็นประโยชน์แก่ตนก็ให้รีบทำเสีย
19. นํ้าเชี่ยวขวางเรือ ความหมาย ขัดขวางเรื่องหรือเหตุการณ์ ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นและกำลังเป็นไปอย่างรุ่นแรง ซึ่งเมื่อทำแล้วก็เป็นอันตรายต่อตนเอง
20.นํ้าตาลใกล้มดความเป็ นมา ผู้หญิงอยู่ใกล้ผู้ชาย น้ำตาลอยู่ใกล้มด มดย่อมตอมน้ำตาลฉันใด ผู้หญิงอยู่ใกล้ผู้ชาย ผู้ชายก็มักจะเข้ามาเกี่ยวข้องกับผู้หญิงฉันนั้น
21.บ่นออดเป็นมอดกัดไม้ ความหมาย คนบ่นเสียงเบา ดังออดแอด ๆ
ความเป็ นมา มอดเป็นสัตว์ตัวเล็ก ๆ ที่เกิดในเนื้อไม้ และกัดกินเนื้อไม้ เช่น เสาเรือน ฝาเรือน ขณะกัดกินเนื้อไม้ได้ยินเสียงออด ๆ จึงเอาเสียงที่เกิดจากมอดกัดไม้มาเปรียบ พูดว่าบ่นเป็นมอดกัดไม้
22.ปล่อยเสือเข้าป่ า ปล่อยปลาลงนํ้า ความหมาย ปล่อยคนสำคัญที่ตกอยู่ในอำนาจให้พ้นไป คนนั้นย่อมจะมีกำลังขึ้นอีก เพราะว่าธรรมชาติของเสือจะอยู่ในป่ า ปลาจะอยู่ในน้ำ เมื่อปล่อยกลับคืนที่ของมัน มันก็จะมีกำลังขึ้นอย่างเดิม
23. เป็นนกอับ ความหมาย ไม่ค่อยพูดจาขณะที่คนอื่นๆเขาพูดเขาคุยกัน
24. พูดเป็นต่อยหอยความหมาย พูดจาฉอด ๆไม่ได้หยุดปาก
25.มือเป็ นฝักถั่ว ความหมาย แสดงความอ่อนน้อมถ่อมตนด้วยการไหว้
ความเป็ นมา ฝักถั่วมีลักษณะอ่อนช้อยโน้มน้อมลงมา ดังนั้นโบราณเอาฝักถั่วมาเปรียบกับการไหว้ โดยใช้มือยกขึ้นไหว้เป็นการแสดงความอ่อนน้อม

สำนวนไทยที่เกิดจากการกระทำ
1. ไกลปืนเที่ยง ความหมาย ไม่รู้เรื่องอะไรเลย
2. ข่มเขาโคให้กินหญ้า ความหมาย ใช้กับโค หมายถึงจับเขาโคกดลงให้กินหญ้าหรือบังคับให้กิน เอาใช้กับคนหมายความว่าบังคับขืนใจให้ทำ สำนวนนี้พูดได้อีกอย่างหนึ่งว่า งัวไม่กินหญ้า อย่าข่มเขา
3. คนล้มอย่าข้าม ความหมาย อย่าดูถูกคนที่ล้มเหลวในชีวิต ความเป็ นมา สำนวนนี้มักมีคำต่ออีกว่า ไม้ล้มจึงข้าม แปลว่าคนดีที่ต้องตกต่ำยากจนหรือหมดอำนาจ เนื่องจากชีวิตผันแปรเปลี่ยนแปลงไป ไม่ควรจะลบหลู่ดูถูกเพราะคนดีอาจเฟื่องฟูอีกได้ ผิดกับที่ล้มแล้วข้ามได้
4. คลื่นกระทบฝั่ง ความหมาย เรื่องสำคัญที่เกิดขึ้น ดูท่าทางจะเป็นเรื่องไปใหญ่โต แต่แล้วก็เงียบหายไปเฉยๆ เราพูดกันเป็นสำนวนว่า คลื่นกระทบฝั่ง หรือว่า คลื่นหายไปกับฝั่ง ก็ได้
5. คลุกคลีตีโมง ความหมาย อยู่ร่วมกันคลุกคลีพัวพันไปด้วยกัน
6. ควักกระเป๋ า ความหมาย ต้องเสียเงิน ต้องจ่ายเงินจะเป็นเงินจากกระเป๋ าเราเอง หรือจากกระเป๋ าคนอื่นก็ได้ ไว้ได้ทั้งสองทาง
7. ความวัวไม่ทันหาย ความควายก็เข้ามาแทรก ความหมาย เกิดเรื่องขึ้นยังไม่ทันเสร็จเรื่อง มีเรื่องใหญ่เกิดขึ้นซ้อนขึ้นมาอีก
8. คอทั่งสันหลังเหล็ก ความเป็นมา สมัยโบราณลงโทษประหารชีวิตใช้วิธีตัดหัวหรือตัดคอ โทษเบาหน่อยก็เฆี่ยนหลัง เฆี่ยนมากก็เป็นอย่างที่เราเรียกว่า “ หลังลายตลอดต้นคอ” คอกับหลังจึงมักจะอยู่ติดกันไป เมื่อจะพูดอะไรที่แสดงถึงความกล้าจนไม่คิดถึงว่าร่างกายจะเป็นอันตรายยับเยินจะเอาทั่ง คือที่ตีเหล็กกับเหล็กมาเปรียบเทียบกับคอและสันหลังพูดเป็นสำนวนว่า “ คอทั่งสันหลังเหล็ก”
9.โค่นกล้วยอย่าไว้หน่อ ความหมาย สำนวนนี้มีต่อไปอีกว่า “ฆ่าพ่ออย่าไว้ลูก” หมายความว่า ถ้าเอาหน่อไว้หน่อก็เจริญเติบโตขึ้นอีก ใช้ตลอดถึงการทำลายล้างคนพาลสันดานโกงต่าง ๆ
10. ชักนํ้าเข้าลึกชักศึกเข้าบ้าน ความหมาย ทำอะไรก็ตามที่เป็นเหตุให้อันตรายมาถึงตัวเอง
11.ซื้อผ้าดูเนื้อ ความหมาย ทำอะไรให้พินิจพิเคราะห์ดูให้ถี่ถ้วนก่อน ความเป็นมา มาจากการซื้อผ้าก็ต้องดูเนื้อผ้าให้ดี สำนวนนี้เป็นคู่กับ ”คบคนดูหน้า”
12. ดาบสองคม ความหมาย สิ่งที่ทำลงอาจให้ผลทั้งผลดี และผลร้ายได้เท่ากัน
ความเป็ นมา เปรียบเหมือนดาบ ซึ่งถ้ามีคมทั้งสองข้างก็ย่อมเป็นประโยชน์ใช้ฟันได้คล่องแคล่วดี แต่ในขณะที่ใช้คมข้างหนึ่งฟันลง คมอีกข้างหนึ่งอาจโดนตัวเองเข้าได้ การทำอะไรที่อาจเกิดผลดีและร้ายได้เท่ากัน จึงเรียกว่าเป็นดาบสองคม
13. ดินพอกหางหมู ความหมาย การงาน หรือธุระหรือเรื่องอะไร ต่างๆ ที่เกิดขึ้นทีละเล็กทีละน้อยพอกพูนขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้ต้องลำบากหรือยุ่งยากเดือดร้อน ความเป็นมา หมูแต่ก่อนมักอยู่ในที่ที่เป็นโคลนตม โคลนมักติดปลายหางแห้งแล้วก็ติดใหม่ พอกพูนโตขึ้นโตขึ้นทุกทีจนเป็นก้อนใหญ่อยู่ที่ปลายทาง
14. ดูดายเป็ นอายตกนํ้า ความหมาย ทำเฉย ทำไม่รู้ไม่ชี้ ไม่จับไม่ต้องจะเป็นอย่างไรก็ช่าง ความเป็ นมา สำนวนนี้จะมีมูลมาอย่างไรไม่ทราบ พูดกันลอย ๆ อย่างเดียวกับสำนวนว่า แม่สายบัวแต่งตัวค้าง
15.โดดร่ม ความเป็ นมา สำนวนนี้เพิ่งเกิดใหม่มี 8 ”กำเนิดจากการโดดร่มชูชีพจากเครื่องบินลงมาปฏิบัติการงานอย่างใดอย่างหนึ่งที่พื้นดิน” เช่น ข้าศึกโดดร่มลงมาทำงานไม่ให้ฝ่ายปรปักษ์มีเวลาเตรียมตัวได้ทัน เรียกว่า “โดดร่ม” เราเอามาใช้เป็นสำนวนหมายความว่า จู่มาไม่ทันตัว เช่น มีตำแหน่งว่างแล้วมีคนแปลกหน้าจากอื่นมารับตำแหน่งก็เรียกว่า “โดดร่ม” มาเป็นอย่างที่พูดกันว่า ”มาเหนือเมฆ” สำนวน ”โดด
ร่ม” ยังใช้เลยไปถึงว่าเลี่ยงหรือหลบ หรือละงานอาชีพที่อยู่เป็นประจำมาทำงานส่วนตัวเล็กน้อยชั่วครั้งชั่วคราวหรือชั่วครู่ยาม ไม่ให้เสียงานประจำก็ได้ด้วย เท่ากับว่าจู่มาชั่วครู่ชั่วยามนั้นเอง
16.ตายดาบหน้าความหมาย คิดมานะไปสู่กับเคราะห์กรรมเอาข้างหน้า ความเป็นมา สำนวนนี้เข้าใจว่าจะมาจากการต่อสู้ในสนามรบ ซึ่งนักรบจะต้องก้าวหน้าเสมอ คือ เมื่อจะตายก็ไปตามเอาข้างหน้า ไม่มีย่อ
ท้อถอยหลัง
17. ตำนํ้าพริกละลายแม่นํ้า ความหมาย ทำอะไรต้องเสียทรัพย์แล้ว ไม่ได้ทรัพย์คุ้มกับที่ต้องเสียไป เช่น ทำงานมงคลอย่างใดอย่างหนึ่งจัดเป็นงานหลายวันต้องหมดเปลืองมาก สำนวนที่ใช้หมายความอีกทางว่า ใช้จ่ายทรัพย์ในทางที่ไม่เกิดประโยชน์ก็ได้
18. ตีตนก่อนไข้ ความหมาย ได้ข่าวหรือได้รู่อะไรที่ไม่ดีเกิดขึ้น อันนั้นจะเกิดจริงหรือไม่ก็ได้ แต่กระวนกระวายทุกข์ร้อนหวาดกลัวไปเสียก่อน
19.ตีวัวกระทบคราด ความหมาย แสร้งพูดหรือทำกับสิ่งหนึ่งให้กระทบกระเทือนไปถึงอีกสิ่งหนึ่ง
20.ทำนาบนหลังคนความหมาย หาประโยชน์ใส่ตนด้วยอาศัยเบียดเบียนเอาจากผลน้ำพักน้ำแรงคนอื่น
21.บัวไม่ชํ้า นํ้าไม่ขุ่น ความหมาย ทำอะไรให้ค่อย ๆ ทำอย่าให้เป็นการรุ่นแรงกระเทือนใจถึงขุ่นหมองกัน
22. ปลาหมอตายเพราะปาก ความหมาย พูดพล่อยไปจนตัวต้องเป็นอันตราย
ความเป็ นมา มูลของสำนวนนี้มาจากปลาหมอ คือปลาหมอเวลาอยู่ใต้น้ำจะพ่นน้ำขึ้นมาเห็นปุด ๆ ที่ผิวน้ำ คนตกเบ็ดเห็นผิวน้ำเป็นฟองปุด ๆ ก็รู้ว่าที่ตรงนั้นมีปลาหมอ เอาเหยื่อล่อตกเบ็ดขึ้นมาได้ จึงพูดว่า ปลาหมอตามเพราะปาก
23.ปากว่าตาขยิบความหมาย ปากว่าใจตรงกัน คือทำเป็นทีพูดว่าอย่างนั้นอย่างนี้ แต่กระพริบตาให้รู้ว่าแสร้งพูดแสร้งว่า ใจจริงแท้ไม่ได้มุ่งหมายให้เป็นอย่างที่พูด
24. พุ่งหอกเข้ารก ความหมาย ทำอะไรชุ่ย ทำพอให้พ้นตัวไป ไม่คิดผลว่าจะเป็นอย่างไร สำนวนนี้ใช้กับคำพูดก็ได้ คือพูดชุ่ยส่งไปกระนั้นเอง
25. มือขวา ความหมาย ถนัด สันทัด ทำได้ดี ในการกระทำ หรือพูดสิ่งต่าง ๆ ได้ดี ความเป็นมา ตามธรรมดาคนเราถนัดข้างขวามากกว่ามือข้างซ้าย “มือขวา”

สำนวนที่เกิดจากอุบัติเหตุ
1.จี้เส้นความหมาย พูดหรือทำให้ผู้ดูผู้ฟังขบขันหัวเราะ เช่น ตลกจี้เส้น เป็นสำนวนใหม่พวกเดียวกันนี้ยังมี “เส้นตื้น” คือคนที่หัวเราะง่ายก็ว่าคนนั้นเส้นตื้น
2. ใจดีสู้เสือ ความหมาย ทำใจให้เป็นปกติเผชิญกับสิ่งที่น่าหลัว
3. ดากแล้วมิหนำเป็ นซํ้าเป็ นสองดาก ความหมาย มีเรื่องลำบากเกิดขึ้นหับตัว แล้วมีเรื่องลำบากเกิดขึ้นอีกซ้ำอีก ทำให้ลำบากมากขึ้น
4. ดาบสองคม ความหมาย สิ่งที่เราทำลงไปอาจให้ผลทั้งทางดี และทางร้ายได้
5. ดูตาม้าตาเรือ ความหมาย พูดหรือทำอะไรก็ตาม ให้ระมัดระวังพินิจพิเคราะห์ ว่ามีอะไรอยู่ข้างหน้า ข้างหลังบ้าง ไม่ให้ซุ่มซ่าม
6. ตกกระไดพลอยโจน ความหมาย พลอยประสมทำไปในเรื่องที่ผู้อื่นเป็นต้นเหตุก็ได้ หรือเป็นเรื่องของตนเอง ไม่เกี่ยวกับผู้อื่นก็ได้
7. ตกหลุม ความหมาย ใช้พูดเมื่อ หกล้มคว่ำลงไปกับพื้น ความเป็ นมา สำนวนนี้มาจากการจับกบ ซึ่งรีบตะครุบไม่ทันให้กบกระโดดหนี พลาดท่าพลาดทางก็ล้มคว่ำลงไปกับพื้น ใครคว่ำ
หน้าลงไปจึงพูดว่า “ตะครุบกบ” บางครั้งก็พูดว่า “จับกบ”
8. บ่อนแตก ความหมาย ใช้พูดเมื่อ มีคนทำการชุมนุมกันมากๆ หรือการมากินเลี้ยง เกิดเรื่องต้องทำให้หยุดชะงักเลิกไปกลางคัน ความเป็ นมา มาจากการติดบ่อนเล่นการพนัน ซึ่งมีคนมาเล่นกันมาก ขณะการเล่นก็ต้องมีการหยุดชะงักต้องเลิกไปกลางคัน เรียกว่า บ่อนแตก คำนี้เลยกลายมาเป็นสำนวน
9. ปราณีตีเอาเรือ ความหมาย ช่วยด้วยความปราณี แต่กลับต้องถูกประทุษร้ายตอบ
8.ปัดขาเก้าอี้ ความหมาย เจตนาหรือแกล้งทำให้ผู้ครองตำแหน่งหรือหน้าที่อันใด ต้องเสียหรือพ้นจากตำแหน่งหน้าที่นั้นไป เก้าอี้ หมายถึง เก้าอี้ที่สำหรับนั่งปฏิบัติงานประจำ ปัดเก้าอี้ คือไม่ได้นั่งปฏิบัติงานในตำแหน่งนี้อีก แล้ว
10. ผงเข้าตาตัวเอง ความหมาย เมื่อเกิดปัญหาขึ้นกับตัวเอง หรือเกิดเรื่องอะไรเกี่ยวกับตัวเองแล้วตัวเองไม่สามารถแก้ไขได้ ความเป็ นมา คนที่มีความรู้ความคิดดี มีสติ ปัญญาเฉลียวฉลาด ทำอะไรให้ใคร ๆ สำเร็จลุล่วงไปได้ แต่พอมีปัญหาหรือมีเรื่องอะไร เกิดขึ้นกับตัวเอง กลับหมดปัญญาที่จะแก้ไข
11. เผลอเรอกระเชอก้นรั่ว ความหมาย เลินเล่อ ไม่เอาใจใส่ระวังดูแลให้รอบคอบ
12. แผ่สองสลึง ความหมาย นอนหงายแผ่ สำนวนนี้มักใช้กับคนที่ลื่น หกล้มลงไปนอนหงายแผ่
13. แพแตก ความหมาย ญาติพี่น้องหรือคนที่เคยอยู่ร่วมกันกระจัดกระจายกันไป เช่นพูดว่าสิ้นผู้ใหญ่เสียคนก็เป็นแพแตก
14. พูดจนโดนตอ ความหมาย พูดเรื่องเกี่ยวกับผู้ใดผู้หนึ่งโดยไม่รู้ว่าผู้นั้นอยู่ในที่นั้นด้วย “ตอ” คือตอไม้ที่ตั้งโด่อยู่ในน้ำ หรือพื้นดินเรามักจะเอามาเปรียบกับคนที่ปรากฏอยู่เฉย ๆ เช่นพูดว่า นั่งเป็นหัวหลักหัวตอ
15. ม้าดีดกระโหลก ความหมาย กิริยาท่าทางผลุบผลับกระโดกกระเดกลุกลน ความเป็ นมา คนที่มีกิริยาท่าทางผลุบผลับกระโดกกระเดกลุกลน มักใช้ว่าผู้หญิงที่ไม่เรียบร้อย จะลุกจะนั่งหรือเดินพรวดพราด
เตะนั่นโดดนี่กระทบโน่นไปรอบข้างที่พูดว่า “ดีดกระโหลก” ฟังดูเป็น “ม้าดีดกระลา” แต่ความจริงเปรียบเหมือนกิริยาของม้า คือม้าที่พยศมักจะมีกิริยาที่เรียกว่า ดีด กับ โขก อยู่ด้วยกัน
16. เรือล่มเมื่อจอด ความหมาย ทำหรือปฏิบัติอะไร ๆ ผ่านพ้นมาเรียบร้อย พอจะสำเร็จหรือพอเสร็จกลับเสียไม่สำเร็จไปได้ ความเป็ นมา เปรียบเหมือนแจวพายเรือมาถึงที่หมาย พอจอด เรือก็ล่ม สำนวนนี้ใช้กับการพูดดีเรื่อยมา พอจะจบก็ลงไม่ได้ “เรือล่มเมื่อจอด” มักจะมีต่อว่า ตาบอดเมื่อแก่
17. ล่มหัวจมท้าย ความหมาย ร่วมทุกข์ร่วมสุขด้วยกัน ยากมีดีจนด้วยกัน ฯลฯ
18. เลือดเข้าตา ความหมาย มุ ทะลุ ดื้อทำไม่คิดถึงผลได้ผลเสีย
ความเป็นมา มูลของสำนวนมาจากการชกมวย หรือการต่อสู้ เมื่อถูกต่อยหรือถูกตี ถูกฟันแทงแถวหน้าผาก หรือคิ้วแตกเป็นแผลเลือดไหลเข้าตา ก็เกิดมานะมุทะลุเข้าสู้อย่างไม่คิดชีวิต เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้ต้องมุมานะโดยไม่คิดหน้าคิดหลัง
19. วัดถนน ความหมาย หกล้มราบลงไปกับพื้น ความเป็ นมา เมื่อหกล้มราบลงไปกับพื้น แล้วจะใช้พูดล้อคนที่ล้มว่าลงไปวัดถนนว่ากว้างยาวเท่าไหร่
20. วิ่งเป็ นไก่ตาแตก ความหมาย ซุกซน ดั้นด้นไปอย่างงมงาย ความเป็ นมา ซึ่งมาจากการเล่นชนชนไก่ ไก่ที่ถูกคู่ชนแท่งด้วยเดือยจนตาแตกไม่เห็นอะไร มักจะวิ่งหนีซุกซนไปทั้ง ๆ ที่ไม่เห็นทาง
21. สี่ตีนยังรู้พลาดนักปราชญ์ยังรู้พลั้ง ความเป็ นมา คำว่า สี่ตีน โบราณหมายถึงช้าง ในเรื่องนางนพมาศว่า “ถึงบุราณท่าว่าคชสารสี่ตีน ยังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้ล้ม ใครอย่าได้ประมาท คำอันนี้ก็เป็นจริง” เพราะว่าช้างเวลาก้าวเท้าจะก้าวหนักมั่นคงมากกว่าสัตว์อื่น ๆ
22.หัวชนกำแพง ความหมาย สู้ไม่ถอย สู้จนถึงที่สุด ฯลฯ ไปติดกับกำแพงไปไหนไม่ได้ ก็ยังสู้
23. หัวรานํ้า ความหมาย เมาเต็มที่ ความเป็ นมา สมัยก่อนไทยเรามีการคมนาคมทางน้ำเป็นสำคัญใช้เรือ เป็นพาหนะทั้งในธุรกิจติดต่อค้าขาย ตลอดจนการเล่นรื่นเริงต่าง ๆ ในการเล่น
24. หัวหกข้นขวิด ความหมาย ทำอะไรแผลง ๆ ทำอะไรโลดโผน ไม่ได้รักษากิริยามารยาท ทำตามใจชอบ
25. โอษฐภัย ความหมาย พูดไม่ดีจะเป็นภัยกับตัวเอง เป็นภัยที่เกิดจากปาก ส่วนใหญ่มุ่งไปถึงการพูดที่ไม่รู้จักที่ต่ำที่สูง การดูหมิ่น พระบรมเดชานุภาพ การพูดเป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐบาล

สำนวนไทยเกิดจาก แบบแผนประเพณี
1. กินขันหมาก- ได้แต่งงาน อย่างมีหน้ามีตา ความเป็ นมา สำนวนนี้มาจากประเพณีสู่ของแต่งงานของไทยที่มีมาแต่โบราณดึกดำบรรพ์ คือการสู่ขอผู้หญิงมาเป็นภรรยา ผ่ายชายต้องจัดขันใส่หมากไปหมั้นชั้นหนึ่งก่อน เรียกว่า ”ขันหมากหมั่น” ถึงกำหนดขันแต่งงานก็ได้ของไปอีก มีเป็นสองอย่าง คือ ขันใส่หมากพลูข้าวสารกับเตียบ
2. กินถ้วย ความหมาย กินเลี้ยงในงานที่มีการเลี้ยงแขก
3. แก้เกี้ยว-พูดแก้ให้เกี่ยวข้องอยู่ในเรื่อง ความหมาย พูดแก้ตัว หมายถึงพูดแก้ไปอย่างอื่น แต่แก้เกี้ยวหมายถึงพูดแก้ให้เกี้ยวข้องมัวพันอยู่ ในเรื่องที่พูดกัน สำนวนนี้ดูท่าทางจะมาจากการเล่นเพลง ซึ่งชายหญิงร้องเกี้ยวแก้กัน
4. เข้าตามตรอกออกตามประตู สำนวนนี้แปลไปได้สองนัยหนึ่งแปลตามตัวที่ว่า “เข้าตามตรอก” ก็ หมายความว่าเวลา จะไปหาใครที่ไม่คุ้นเคย ให้ดูลาดเลาเลียมเคียงเข้าไปก่อนเช่น บ้านเขามีประตูเล็ก หรือมีทางสำหรับ เข้าออกอีกต่างหากก็ให้เข้าทางนั้น ไม่ควรจะเข้าทางประตูใหญ่ทีเดียว เมื่อเสร็จธุระแล้วเวลาจะออกก็ออกทางประตูใหญ่ได้แปลว่า ทำอะไรให้รู้การเทศะ อีกนัยหนึ่ง”เข้าตามรอก” คำ “ตรอก” เป็นแต่เพียงพูดให้คล้อง ของกับออก” ส่วนความหมาย สำคัญอยู่ที่ “ประตู” คือ ให้เข้าออกทางประตูตามที่มีอยู่ ซึ่งแปลว่า ทำอะไรให้ถูกต้องตามธรรมเนียม แต่อย่างไรก็ตามความหมายของสำนวนนี้ก็ลงกันในข้อที่ว่า ให้รู้จักทำให้ถูกต้องเหมาะสม
5. ครอบ ความหมาย สอนวิชา ความรู้ ความเป็ นมา “คือครอบหัวโขนที่ครูใช้ศิษย์ แสดงว่าศิษย์นั้นความรู้วิชา รำดีแล้ว ต่อมาเราเอาคำ “ครอบ” นี้ใช้พูดเป็นสำนวน หมายถึงสอนอะไรให้ทุกอย่าง “ครอบ” เป็นสำนวนใช้คู่ขับ ” ขึ้นครู” จึงหมายความเรียน ”ใครครอบให้” หมายความว่าใครสอนให้ ”ขึ้น
ครูแล้วหรือยัง” หมายความว่าเรียนจากครูแล้วหรือยัง
6. คู่เรียงเคียงหมอน ความเป็ นมา เป็นสำนวนที่ตามประเพณี แต่งงานของไทย ที่มีมาแต่โบราณ เมื่อรดน้ำคู่บ่าวสาวเสร็จแล้วก็มีการส่งตัว เจ้าสาวที่เรือนหอ มีฤกษ์ เรียกว่า “ฤกษ์เรียงหมอน” คือปูที่นอน จัดหมอนสำหรับเจ้าบ่าวเจ้าสาววางเรียงเคียงคู่กัน “ คู่เรียงเคียงหมอนจึงเป็นสำนวน หมายถึงความเป็นสามีภรรยากัน
7. ทำมิ่งสิ่งขวัญ ความหมาย ทำขวัญ คือทำพิธีของให้มิ่งขวัญในตัวอยู่มั่นคง และเจริญ
8. นอกรีด ความหมาย ประพฤติผิดไปจากแบบแผนขนมธรรมเนียมประเพณี
9.บอกแขก ความหมาย บอกคนทั้งหลายให้รู้ เพื่อให้มาช่วยเหลือทำการงานต่างๆ
10.ปลูกหอ ลงโรง ความเป็ นมา แต่งงาน”ปลูกหอ” หมายถึง “ปลูกเรือนหอ” ซึ่งตามประเพณีไทยต้องมีเรือนหอ สำหรับคู่บ่าวสาวที่จะกินอยู่ด้วยวันเป็นหลักฐาน ”ลงโรง”หมายถึง ทำงานเป็นพิธีใหญ่โต มีปลูกโรงรับงานใหญ่โตออกหน้าออกตา เพลงฉ่อย สมัยเก่ามีร้องกัน “ ที่
เบารักกันหนาที่เขาพากันหนี ที่เขามั่งเขามีถมไปที่ปลูกหอลงโรง ฉิบหายตายโรงนั่นเป็นไร”
11. ไปวัดไปวาได้ ความเป็ นมา สมัยก่อนวัดเป็นที่พึ่งของประชาชน ชายหญิงไปชุมนุมกัน เช่นงานสงกรานต์เทศน์มหาชาติ ทองกฐิน ฯลฯ เป็นที่เข้าสังคมออกหน้าออกตาอวดกัน หญิงสาวที่มีรูปร่างหน้าตาดี พอจะอวดได้จึงพูดเป็นสำนวนว่า ”ไปวัดไปวาได้”
12. ไปไหว้พระจุฬามณี ความหมาย ตาย ความเป็ นมา มูลของสำนวนมาจากพิธีศพคนตาย มีอาบน้ำศพ ตราสังแล้วทำกรวยใส่ดอกไม่รูปเทียนให้ศพคนตายในมือสำหรับไปไหว้พระจุฬามณีบนสวรรค์
13. ผัดเจ้าล่อ ความหมาย ผัด หรือ ผัดเพียน คือ เลื่อนเวลาไป ความเป็ นมา มูลของสำนวนมาจากการล่อช้าง ผัดช้างรบที่เรียกว่า “ผัดพาน” และ ”ล่อแพน” ผัดพานมีคนถึงผัดล่อให้ช้างไล่ ล่อแพนมีคน
ขี่ม้าล่อให้ช้างไล่ สมัยก่อนมีในงานพิธีแห่ สระสนาน คือ เดินกระบวนช้างม้า แล้วก็ผัดพานล่อแพง คำที่เรียกการล่อช้างว่า “ผัด” เป็นคำเดียวกับ ”ผัด” เลื่อนเวลา เราจึงเรียกว่าการผัดเลื่อนเวลาเป็นสำนวนว่า”ผัดเจ้าล่อ” ใช้ได้ตลอดจึงการผัดเพี้ยนอะไร ๆ พอให้พ้นไป
14.ฝังรกฝักราก ความหมาย ตั้งหลักแหล่งหรืออยู่ที่ใดที่หนึ่งถาวร
15. พิธีรีตอง เป็นสำนวนที่มีความหมาย 2 อย่าง
      1. พิธีนั้นเอง เช่น พิธีบวชนาค
      2. การกระทำอะไร ๆ ก็ได้ที่มีบทบาทมาก ในภาษาไทยมักจะมีคำต่อท้ายที่เรียกว่าสร้อยคำอยู่มาก สร้อยคำลางทีก็มีความหมายอย่าง“รีตอง”
16. ไม่รู้จักหม้อข้าวหม้อแกง ความหมาย ยังไม่เป็นการบ้านการเรือน ไม่รู้จักทำงานบ้าน ยังไม่เป็นบ้านแม่เรือน สำนวนนี้ใช้กับหญิงสาว
17. ไม่เสียปี เสียเดือน ความหมาย จัดทำหรือปฏิบัติไปตามธรรมเนียม เมื่อถึงคราวหรือถึงเวลา หรือถึงกำหนดที่ควรทำ แปลว่า ไม่ให้ปี เดือน ที่ผ่านมาถึงนั้นต้องว่างเว้นไปเปล่า ๆ
18. แย่งกันเป็นศพมอญ ความหมาย แย่งชิงสิ่งของกันชลมุนวุ่นวาย ความเป็ นมา มูลของสำนวนนี้มาจากประเพณีทำศพของมอญมีปรากฏในเรื่องราชาธิราชว่า พระเจ้าหงสาวดีมหาปิ ฎกธร ทำศพ
พระราชมารดาเลี้ยง เช่น ของใช้ขอทานของแจงตลอดจน ฟ้ องร้องชิงมรดกกันยุ้งเหยิง จึงพูดกันเป็นสำนวนว่า “แย่งกันเป็นศพมอญ”
19. ร้องเพลงในครัวได้ผัวแก่ ความเป็นมา ตามแบบธรรมเนียมไทยโบราณ หญิงสาวต้องเข้าครัวฝึกหัดหุงข้าวต้มแกง อาหารต่าง ๆ ให้เป็นเวลาเข้าครัวเป็นเวลาทำงาน ใครร้องเพลงในครัวจึงมีคำผู้ใหญ่ว่า “ร้องเพลงในครัวได้ผัวแก่” เวลาเข้าครัวจะได้ตั้งหน้าตั้งตาทำงาน ไม่ร้องเพลงเล่น
20. ฤกษ์งามยามดี ความหมาย เวลาดี เวลาเหมาะ เวลาสมควร โอกาส ฯลฯ ความเป็ นมา มูลของสำนวนนี้มาจากตำราโหราศาสตร์ที่มีวิธีคำนวณดูวันเวลาฤกษ์ยามที่เหมาะเป็นชัยมงคลสำหรับทำการงานต่าง ๆ
21. ลงขัน ความหมาย ช่วยกันออกค่าใช้จ่าย
22. ลงแขก ความหมาย ขอแรงคนให้ช่วยทำงาน ความเป็ นมา สำหรับสำนวนนี้ใช่สำหรับงานอะไรก็ได้ แต่ที่ใช้กันส่วนมาเป็นการทำนาเกี่ยวข้าว คือข้าวนาในสุกแล้วเกี่ยวคนเดี่ยวไม่ไหว ก็เลยต้องขอแรงจากเพื่อนบ้าน แล้วพลัดกัน เขามาช่วยเรา และเราก็ไปช่วยเขา เป็นธรรมเนียมเรียกว่า “ลงแขก”
23. วุ่นเป็ นจุลกฐิน ความเป็ นมา จุลกฐิน คือ การทอดกฐินโดยวิธีจัดทำเครื่องกฐินเอง เริ่มจากเก็บฝ้ ายจากไร่ของตน เอามาปั่นและทอเป็นผืนผ้า ตัดเย็บเป็นสบงจีวร ย้อมแล้วเข้าไตร
24. สิบเบี้ยขายไม่ขาด
ไม่มีดี ไม่มีค่า เลวทรามต่ำช้า หาอะไรดีไม่ได้ มูลของสำนวนมาจากสมัยโบราณมีประเพณีขายคน เช่นขายให้ไปเป็นทาส ในกฎหมายลักษณะทาสครั้งพระเจ้าอู่ทองมาตราหนึ่งว่า
“ผู้ใดขาดแคลนมีอาสน เอาพี่น้องลูกหลานญาติไปขายฝากประจำเชิงกระยาเบี้ย 2 แสน 3แสนขึ้นไป ให้ค่อยใช่ค่อยสอยอย่าให้ทำร้ายแก้ผู้คนท่าน” หมายความว่า มีราคาหรือค่าตัว 2 แสน หรือ 3แสน เบี้ย การขายอาจจะมีราคามากหรือน้อยก็แล้วแต่ฐานะบุคคล ดีก็ขายได้แพง ไม่ดีก็ถูก
25.เออนอห่อหมก ความหมาย รับคำด้วยดี ตกลงด้วยดี
ความเป็ นมา สำนวนนี้มาจากประเพณีแต่งงานในวันสุกดิบ คือวันก่อนฤกษ์แต่งงาน ฝ่ายชายจะต้องจัดผ้าไหว้และขันหมากไป บ้านเจ้าสาว ขันหมากมี 2 อย่าง เรียกว่าขันหมากเอกกับขันหมากเลว ขันหมากเอกจะมีข้าวสาร หมากและพลู มีเตียบ คือตะลุ่มใส่หมากพลู หมูต้ม ห่อหมก ขนมจีน ขันหมากเลวมีขนมกับลูกไม้ต่าง ๆ ห่อหมก เป็นของสำคัญที่ขาดไม่ได้ ทั้งสองคำรวมกัน จึงหมายถึง ทั้งสองฝ่าย
ตกลงด้วยดี รับคำด้วยดี

สำนวนไทยเกิดจากความประพฤติ
1. กินข้าวร้อนนอนสาย
กินข้าวร้อน หมายถึง กินข้าวหรืออาหารที่ปรุงแล้วเสร็จกำลังร้อน นึกจะกินร้อน ๆ เมื่อใดก็ได้ นอนสายหมายถึง ตื่นนอนเมื่อใดก็ได้ ทั้งสองคำนี้รวมกัน หมายถึงบุคคลชั้นขุนมูลนายที่ทำงาน อย่างอิสระแก่ตน ผิดกับคนชั้นที่ต้องอยู่ในบังคับ ซึ่งนอนสายไม่ได้ และกินก็ไม่สะดวก ถึงเวลาจะกินไม่ได้กินทันที กว่าจะได้กินอาหารเย็นจืดไม่มีรส ส่วนคนที่มีอิสระ นึกจะกินก็ได้กินทันที จะตื่นเมื่อใดก็ได้
2. ข้านอกเจ้า ข้าวนอกหม้อ
การกระทำหรือประพฤติอะไรนอกออกไปจากคำสั่งหรือแบบอย่างธรรมเนียม สำนวนนี้ใช้หมายความถึงการแอบอ้างตนว่าเกี่ยวข้องกับผู้สู้ศักด์ิ หรืออะไรอย่างใดอย่างหนึ่งให้คนหลงเชื่อ
“กาลแต่ก่อนเจ้านายน้อยตัวก็ไม่รั่วไม่ร้ำข้างไหนหนักครั้นภายหลัง เจ้านายมากขึ้นก็เกิดการรั่วร้ำไปต่าง ๆ เป็นการข้านอกเจ้าเข้านอกหม้อ ลูกนอกพ่อ หลานนอกปู่ เป็นขึ้น”
พระราชหัตถเลขารัชกาลที่ 4
3. ข้าวแดงแกงร้อน
ข้าวแดงเป็นข้าวที่สีด้วยมือ ไม่ขัดจนเป็นสีขาว เพราะในสมัยโบราณยังไม่มีดรงสี คนทั่วไปจึงกินข้าวแดงกัน ถ้าจะกินข้าวขาวคือข้าวที่ขัดจนขาว แต่เฉพาะคนชั้นสูงที่อยู่ในวัง และบ้านที่ใหญ่ ๆ โต ๆ ข้าวแดงแกงร้อนหมายถึง บุญคุณ คือเมื่อกินข้าวของผู้ใดก็ต้องคิดถึงบุญคุณของผู้นั้น
4. คดในข้องอในกระดูก คือ คนที่มีสันดานคดโกง
5. คบพาลพาลพาไปหาผิด
สำนวนนี้มีความหมายอยู่ในตัวของสำนวนอยู่แล้ว และมักจะมีคำต่อท้ายว่า คบบัณฑิตพาไปหาผล
6. ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด
มีวิชา มีความรู้ทุกสิ่งทุกอย่างแต่ตั้งตัวให้เป็นหลักฐานไม่ได้ หรือเมื่อคราวที่มีเรื่องเกิดขึ้นกับตัวเอง กลับไม่มีปัญญาที่จะแก้ไข
ให้ตัวเองรอดพ้นมาได้
7. คางคกขึ้นวอ คนชั้นต่ำที่ไม่เคยมี ไม่เคยได้สิ่งที่ตัวเองคาดหมายไว้ แล้วกลับมามีมาได้ขึ้นมา ก็แสดงกิริยาให้เห็นว่าเห่อต่าง ๆ
8. ได้แกง เทนํ้าพริก ได้ของใหม่อะไรแปลก ๆ มาก็ทิ้งของเก่าที่มีอยู่เป็นประจำ น้ำพริก นั้นเป็นของประจำสำหรับการทำข้าวของคนไทย
มาแต่สมัยโบราณ กับข้าวอื่นอาจจะเปลี่ยนไปต่าง ๆ อย่างนั้นอย่างนี้บ้าง แต่น้ำพริกก็ยังคงอยู่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง
9. ถลุง ใช้จ่ายเงินหรือทรัพย์สมบัติหรือสิ่งของอย่างหนึ่งอย่างใดหมดสิ้นไปอย่างเหลวแหลกในเวลาอันรวดเร็ว สำนวนนี้เอาการหลอม
เหล็กให้ละลายมาเปรียบ
10. เถนตรง ซื่อหรือตรงจนเกินไป ไม่คิดถึงอะไรควรจะเป็นอย่างไรจึงจะเหมาะสมหรือดี ลักษณะของเถนตรงอาจเกินจากความเขลา
ความคิดไม่ถึง หรือความไม่เฉลี่ยวอย่างไรก็ได้ แปลว่าไม่มีไหวพริบ
11. นกสองหัว คนกลับกลอกโลเล ทำตนเข้าด้วยทั้งสองฝ่าย ไม่มีอุดมคติมั่นคง เหตุที่เอานกมาเปรียบก็เพราะว่า สมัยก่อนเคยเรียกหญิง
งามเมือง (นครโสเภณี) หรือหญิงที่หากินอย่างนี้ว่า นก เมื่อพูดว่า นก ก็เป็นอันว่ารู้กัน
12. นอนกินบ้านกินเมือง นอนหลับจนสายแล้วยังไม่ตื่น สำนวนนี้เอาขุนนางที่เป็นเจ้าเมืองมาเปรียบ นอนอย่างเจ้าเมือง ซึ่งหมายถึงว่าถ้า
เป็นขุนนางที่ใหญ่โตแล้วมักจุนอนตื่นสาย
13. บทบาทมาก มีกิริยาท่าทางมาก จะทำอะไรสักอย่างก็ช้ายืดยาด ไม่เสร็จสักที มูลของสำนวนมาจากละครรำมีกระบวนลีลาท่าทางมาก
ตามศิลปะของการรำ เรียกว่ามีบทบาทมาก เราเอามาใช้กับคนธรรมดาที่ทำอะไรช้ายืดยาด
14. บอกยี่ห้อ แสดงท่าทีหรือคำพูดให้รู้ว่ามีลักษณะหรือนิสัยสันดานอย่างไร เช่น แต่งตัวบอกยี่ห้อนักเลง หมายความว่าแต่งตัวแสดงว่า
เป็นนักเลง
36
15. บ้าบิ่น บ้าบิ่นเป็นชื่อขนมชนิดหนึ่ง คนที่มุทะลุบ้าระห่ำ พูดหรือทำอะไรอวดดีไม่เข้าเรื่องเรียกกันว่า บ้าบิ่น
16. ปากปลาร้า ชอบพูดติฉินนินทาว่าคนหยาบ ๆ ไม่น่าฟัง สำนวนนี้เอาปลาร้ามาเปรียบ
17. ผักชีโรยหน้า ทำอะไรแต่เพียงเล็กน้อยเป็นการฉาบหน้าเพื่อจะลวงให้เห็นว่า ทุกสิ่งทุกอย่าง เรียบร้อยสมบูรณ์ หรือทำเพียงผิวเผินฉาบ
หน้าชั่วคราวให้เห็นว่าดี สำนวนนี้มักพูดในทางที่ไม่ดี แต่ลางทีใช้ในทางดีก็ได้
18. ผ่าเหล่า มีนิสัย สันดานหรือความประพฤติ ผิดแผกแตกต่างไปจากเชื้อสายวงศ์ตระกูล เหล่าคือ เทือกเถาเหล่ากอ สำนวนนี้บางทีก็พูดว่า
ผ่าเหล่าผ่ากอ
19. ผ้าผับไว้ กิริยามารยาทเรียบร้อย สำนวนนี้เอาผ้าที่พับเรียบร้อยมาเปรียบ มักใช้กับผู้หญิง
20. แม่แหพาน มีนิสัยพาลเกะกะระราน แห คือ ตาข่ายสำหรับทอดจับปลา แหพานคือทอดหรือเหวี่ยงแหไปโดนปลา
21.ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก ถ้าจะอบรมสั่งสอนหรือดัดสันดานนิสัยสันดานคนให้ประพฤติดี ให้ทำตั้งแต่เด็กจึงจะได้ผล ถ้าโตเต็มที่
อายุมากแล้วจากที่จะได้ผล เปรียบเหมือนดัดไม้ เช่น ดัดไม้ ต้องการดัดให้เป็นรูปต่าง ๆ ต้องดัดตั้งแต่ลำต้นกิ่งก้านยังอ่อนก็จะเป็นรูปได้
ตามต้องการ ถ้าไม้โตแก่เสียแล้ว ดัดให้ให้เป็นรูปร่างยาก ดัดไม่ดีอาจจะหัก
22. ร้อนวิชา ทำอะไร ปฏิบัติอะไรหรือประพฤติอะไรผิดอะไรผิดปกติวิสัยที่คนธรรมดาเขาทำกัน มูลของสำนวนมาจากคติที่ว่ากันว่า คนมี
วิชาแก่กล้านั้นจะทำอะไรแปลก ๆ ผิดคนทั้งปวง เช่นคนทั้งหมดเขานั่งในร่ม แต่ตัวเองไปนั่งตากแดดอยู่คนเดียว สำนวนนี้ใช้กับคนที่
มีวิชาจริง ๆ หรือใช้กับคนไม่มีวิชาความรู้อะไรเลยก็ได้
23. รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา ทำตัวดี ประพฤติดี มีวิชาความรู้ก็ย่อมจะได้งานเบางานสูง ทำตัวไม่ดี ประพฤติไม่ดี ไม่มีวิชาความรู้ก็ย่อม
จะต้องทำงานหนัก งานต่ำ จั่วเป็นของเบาต่างกับเสาที่เป็นของหนัก
24. สันหลังยาว ขี้เกียจ เกียจคร้าน สำนวนนี้พูดเต็มว่า ขี้เกียจสันหลังยาว
25. เอาจมูกเขามาหายใจ อาศัยผู้อื่นให้ทำงานให้ พึ่งผู้อื่นวานผู้อื่นให้เขาทำอะไร ๆให้ มุ่งถึงว่าย่อมจะไม่สะดวก ไม่ได้รับผลดี สำนวนนี้
บางทีพูดว่า เอาจมูกคนอื่นมาหายใจ หรือว่ายืมจมูกเขามาหายใจ
สำนวนไทยเกิดจากการละเล่น
1. เข้าตาจน สำนวนนี้มาจากการละเล่นทีมีตัวหมากเดินตามตาราง เช่น หมากรุก หมากตัวใดต้องตกอยู่ในตาซึ่งไม่มีทางจะเดินต่อไปอีก ก็
เรียกกันว่า จน คือแพ้ ใครที่ต้องตกอยู่ในที่อับจนไม่มีทางเบี่ยงบ่ายเอาตัวรอดได้ ก็เรียกว่า เข้าตาจน
2. คลุกคลีตีโมง อยู่ร่วมกัน คลุกคลีอยู่ด้วยกัน คำว่า ตีโมง หมายถึงตีฆ้อง การเล่นของไทยในสมัยโบราณมักจะมีฆ้องกับกลองเป็นอุปกรณ์
เช่น โมงครุม ระเบ็ง ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาในบุณโณวาท คำฉันท์ว่า
3. ถูกขา หมายความว่า เข้าคู่ หรือเข้าพวก หรือเข้าชุดกันได้สนิทสนมกลมเกลียวกันดีไม่ขัดเขิน เช่นเล่นฟุตบอลถูกขากัน เต้นรำถูกขากัน
มูลของสำนวนนี้มาจากการเล่นที่ประกอบด้วยผู้เล่นหลาย ๆ คน เช่นเล่นไพ่ ถ้าเคยเล่นด้วยกันมาก่อนเรียกว่าถูกขากัน
4. นักเลงอดเพลงไม่ได้ มีนิสัยชอบแล้วอดไม่ได้ มูลของสำนวนน่าจะมาจากการเล่นเพลง นักเลง หมายถึงนักเล่น เมื่อเป็นนักเล่นแล้วเห็น
คนอื่นเล่นเพลงกันก็อดที่จะเข้าร่วมวงไม่ได้ ต่อมาใช้กว้างออกไป หมายถึงอะไรก็ได้เมื่อชอบแล้วก็อดที่จะประพฤติไม่ได้
5. โบแดง การแสดงออกที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถให้เป็นที่ยกย่อง มูลของสำนวนมาจากการเล่นเครื่องโต๊ะจีนในสมันรัชกาลที่ 4 คือ
มีการประกวดตั้งโต๊ะจีน โต๊ะของผู้ใดมีเครื่องโต๊ะ พระยาโชฎึกราชเศรษฐี ซึ่งเป็นผู้ชำนาญเครื่องโต๊ะก็เอา แพรแดง ผูกทำขวัญชิ้นนั้น
เครื่องโต๊ะจีนชิ้นใดได้แพรแดงก็แสดงว่าเป็นของดี ต่อมาเอาแพรมาทำเป็นโบแดง โบแดงกลายเป็นสำนวนใช้บอกถึงความสามารถ
ดีเด่น ใครทำอะไรที่ดีเด่นก็จะเป็นที่ยกย่องนับถือ
6. ประสมโรง เข้าร่วมเป็นพวก มูลของสำนวนนี้มาจากการเล่นละคร ในสมัยก่อนละครที่รวมเป็นคณะเรียกว่า โรง บางคนตั้งคณะละคร
ขึ้น โดยนำเอาตัวละครจากที่ต่าง ๆ มารวมกันให้ได้เป็นโรง เรียกว่าประสมโรง
7. เป็ นปี่ เป็ นขลุ่ย พูดหรือทำอะไรถูกคอกัน กลมเกลียวไปด้วยกันอย่างดี มูลของสำนวนมาจากการเล่นปี่พาทย์ในวงปี่ พาทย์คนเป่ าปี่ เป็น
คนนำเครื่องอื่นตามกลมกลืนกัน ใครพูดหรือหรือทำอะไรนำขึ้น คนอื่น ๆ ตาม จะพูดว่า เป็นปี่ เป็นขลุ่ย
8. เป็ นหุ่นให้เชิด อยู่ในฐานะหรืออยู่ในอำนาจให้คนอื่นใช้เป็นเครื่องบังหน้าเขาให้ทำอย่างใดก็ทำอย่างนั้น ตนไม่มีอำนาจที่จะทำได้
นอกจากต้องสำแดงตัวรับหน้าแทนเขาไปเรื่อย ๆ มูลของสำนวนนี้มาจากการเล่นหุ่น เช่น หุ่นใหญ่ หุ่นกระบอก ซึ่งมีคนเชิดตัวหุ่นอยู่
ด้านหลัง จะให้ตัวหุ่นทำอย่างไรก็แล้วแต่คนเชิดทั้งสิ้น
9. พ่อแจ้แม่อู หมายความว่า ต่างพันธุ์ผสมกันพันทาง พ่อแจ้ หมายความว่าพ่อเป็นไก่แจ้ แม่อู หมายความว่า แม่เป็นไก่อู ไก่อูเป็นไก่ที่สูง
ใหญ่กว่าไก่แจ้ ไก่ที่เอามาเล่นพนันชนกันเป็นไก่อู
10. มือใครยาวสาวได้สาวเอา
ใครมีกำลังความสามารถหรืออิทธิพล หรืออำนาจหรืออะไรก็ตามที่จะถือเอาสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้แล้วรีบเอาทันทีเป็นลักษณะของ
การแย่งชิงกัน ใช้ในเรื่องอะไรก็ได้ ใช้ได้ทั่ว ๆ ไป มูลของสำนวนมาจากบทร้องเล่นโบราณที่ว่า “ซักส้าวเอย มะนาวโตงเตง ขุนนางมาเอง
มาเล่นซักส้าว มือใครยาวสาวได้สาวเอา มือใครสั้นเอาเถาวัลย์ต่อเข้า”
11. ไม่มีปี่ มีกลอง ทำหรือพูดขึ้นมาโดยไม่มีเค้ามูล มูลของสำนวนนี้มาจากการรำละคร หรือกระบี่กระบองที่ใช้ปี่ กับกลองทำเพลง เป็น
จังหวะประกอบรำ เช่น ในเสภาขุนช้างขุนแผนตอนโจรปล้นขุนศรีวิชัย จับขุนช้างกับนางแพรทองให้รำ มีกลอนว่า “เจ้าขุนช้างกับ
นางแพรทอง ว่าไม่มีปี่ กลองรำไม่ได้ ” แปลว่าเมื่อจะรำก็ต้องมีปี่ กลอง ดังนั้นอะไรที่เกิดขึ้นเงียบ ๆ เฉย ๆ โดยไม่มีเค้ามูล จึงพูดเป็น
สำนวนว่า ไม่มีปี่มีกลอง
12. ไม้ตาย นำหรือยกเอาข้อสำคัญมาใช้หรือกล่าวอ้าง โดยที่เชื่อว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะต้องจำนน หรือไม่ไห้รอดพ้นไปได้หรือพ่ายแพ้ มูลของ
สำนวนมาจากเพลงกระบี่กระบอง ตลอดจนมวย เช่นเวลาตีต่อยหมายเอาที่สำคัญที่คู่ต่อสู้จะต้องแพ้ เช่น แสกหน้าดอกไม้ทัด (ซอกหู)
ปลายคาง กำด้น การทำถ้าถูกที่สำคัญเหล่านี้เรียกว่า ไม้ตาย เมื่อแปลเป็นสำนวนพูดว่า “โดนไม้ตาย”
13. ไม้นวม ทำหรือพูดอะไรก็ตามต่อผู้หนึ่งผู้ใดหรือสิ่งหนึ่งสิ่งใดเพียงเบาะ ๆ ไม่ให้หนักรุนแรง มูลของสำนวนมาจากปี่พาทย์ คือการ
บรรเลง ปี่พาทย์มีสองอย่าง ถ้าจะให้เสียงดังแรงใช้ไม้ตี ชนิดทีเรียกว่า “ไม้แข็ง” ถ้าจะให้เสียงเบาฟังนุ่มนวล ให้ใช้ไม้ตีที่เรียกว่า ไม้
นวม นำมาใช้เป็นสำนวนหมายความว่า คนที่ทำผิดหรือทำอะไรรุนแรงเกินเลยไป แทนที่จะลงโทษก็ว่ากล่าวสั่งสอนให้รู้สำนึกตัว
เรียกว่าใช้ไม้นวม
14. ร้องจ๊อก ไม่ต่อสู้ ยอมแพ้ มูลของสำนวนมาจากการเล่นชนไก่ ขณะต่อสู้กัน ตัวใดแพ้ไม่ต่อสู้จะร้องออกเสียง จ๊อก และวิ่งหนีไป
15. รำพัด หมายความว่า เล่นไพ่ตอง วิธีเล่นไพ่ตองมีไพ่ถือในมือ 11 ใบ เวลาคลี่ไพ่ออก ไพ่มีรูปเหมือนพัดด้ามจิ้ว รำเป็นท่าต่าง ๆ เรียกว่า
รำพัด
16. รำไม่ดีโทษปี่ พาทย์ ตัวเองทำไม่ดี ทำไม่ถูกหรือทำผิดแล้วไม่รู้ หรือไม่ยอมรับว่าตัวผิด กลับไปซัดไปโทษเอาคนอื่น มูลของสำนวนมา
จากการฟ้ อนรำ ทำท่าที่มีการบรรเลงปี่พาทย์ประกอบ ปี่พาทย์เป็นหลักของการรำลีลาท่ารำ ต้องให้เข้ากับกระบวนปี่พาทย์ ผู้รำ
ชำนาญก็รำเข้าปี่พาทย์ได้งามถ้าไม่ชำนาญก็ผิดจังหวะพลัดพลาดไปไม่งาม สำนวน รำไม่ดีโทษปี่พาทย์ หมายความว่า ตนรำไม่ดีแล้ว
ไปโทษปี่พาทย์ว่าทำเพลงผิด
17. ลงโรง หมายความว่า เริ่มลงมือทำ ตั้งต้นทำ ลงโรงเป็นภาษามโหรสพ เช่นการเล่นละครรำปี่ พาทย์ทำเพลงไปก่อนเรียกว่า โหมโรง พอ
ได้เวลาตัวละครออกแสดงเรียกว่า ลงโรง เล่นไปจนเลิก เรียกว่า ลาโรง แปลตามตัวว่า ลงมาที่โรง ลงโรงเมื่อใช้กับการเล่นมโหรสพ ก็
แปลว่าเริ่มเล่น เริ่มแสดง เมื่อใช้เป็นสำนวนหมายความว่า เริ่มลงมือทำ ตั้งต้น
18. ลดข้อกินเบียร์ สำนวนนี้มาจากการเล่นบิลเลียด คนเล่นเก่งเมื่อไปอยู่ในหมู่คนเล่นไม่เก่งเวลาเล่นมักจะไม่บรรจงแทง หรือแสร้งหย่อน
ฝีมือให้เพลาลง จะได้มีคนเล่นด้วย การเล่นมักจะเล่นเป็นการพนัน คนแพ้ต้องเสีย โดยการกินเบียร์ คนเก่งที่แสร้งหย่อนมือเพื่อเล่น
เอาเบียร์จึงพูดว่า ลดข้อกินเบียร์
19. เล่นเอาเถิดเจ้าล่อ หมายความว่า สวนกัน สวนกันไปสวนกันมา คนละที่ไม่พบกัน ตามหากันคนนี้ไป คนนั้นมา ไม่พบกัน มูลของ
สำนวนนี้มาจากการเล่นที่เรียกว่า เอาเถิด ฝ่ายหนึ่งล่อให้ไล่ ฝ่ายหนึ่งตามจับ ฝ่ายล่อพยายามหลบหลีก ไม่ให้อีกฝ่ายไล่จับได้
20. วุ่นเป็ นงานหา หมายความว่า วุ่นต่าง ๆ มูลของสำนวนนี้มาจากการเล่นมหรสพ มหรสพที่เล่นในงานเรียกตามธุรกิจที่ติดต่อ มี 2 อย่าง
คืองานหางานหนึ่ง กับงานช่วยอีกงานหนึ่ง งานหมายถึงงานที่เจ้าของงงานให้มหรสพ ไปเล่นในงาน และเสียเงินเป็นค่าจ้าง ให้แก่
เจ้าของโรง ตามราคาที่ตกลงกันไว้ ส่วนงานช่วย เป็นงานที่เจ้าของโรงนำมหรสพไปช่วยเจ้าของงาน โดยไม่รับเงินค่าจ้าง
21. ศอกกลับ หมายความว่า แก้เรื่องหรือข้อกล่าวหาย่อนกลับไปยังผู้กล่าวหา มูลของสำนวนมาจากการชกมวยไทย เวลาเข้าประชิดใช้ศอก
กลับหลังให้ถูกคู่ต่อสู้ ถ้าถูกแล้วจะถูกอย่างจัง เรียกว่า ศอกกลับ การพูดหรือทำอะไรเป็นการแก้เรื่องหรือข้อหาให้ย้อนกลับไปที่ต้น
เรื่องจึงพูดว่า ศอกกลับ

สอบถามเพิ่มเติม: P'ต้นฝ้าย 088-9211933